1. “นั่นไม่ใช่งานของดิฉัน / ผม”
เหตุผล: ถ้าเป็นการโยนงานมาจากเจ้านายก็แปลว่านายต้องการความช่วยเหลือจากคุณ
นั่นแหละรับทำเพื่อเก็บเป็นโปรไฟล์ที่ดีติดตัวไว้เถอะ
สิ่งที่ควรพูดที่สุด: อย่าเพิ่งปฏิเสธเจ้านาย (หรือใครก็ตาม) แบบมะนาวไม่มีน้ำถ้าทำไม่ไหวจริงๆ
ควรออกตัวด้วยประโยคทำนองว่าตอนนี้ มีงานหลายชิ้นที่ยังไม่เสร็จเกรงว่าหากมีงานใหม่เข้ามา
อาจทำให้ส่งงานช้าลง หรือหากทำเร็วกว่ากำหนดคุณภาพอาจไม่ดีพอจากนั้น
เจรจาขอให้เจ้านายลดงานเก่าที่คั่งค้างอยู่หรือเลื่อนกำหนดส่งออกไป เป็นต้น
2. “ฉันมีเรื่องจะ เ ม า ท์ ”
เหตุผล: คงไม่ดีแน่หากชื่อเสียงของคุณจะเป็นที่โจษจัน ไปทั่วออฟฟิศว่าคุณเป็นเจ้ากรม
ข่าวลือและชอบแอบ เ ม า ท์ แ ท ง คนอื่นลับหลังประจำ
สิ่งที่ควรพูดที่สุด: เข้าใจว่าความคันปากไม่เข้าใครออกใคร แต่ถ้าพูดไปแล้ว
ไม่มีประโยชน์ สู้ตั้งหน้าตั้งตาทำงานไม่ดีกว่าหรือ
3. “ฉันมีไอเดียหนึ่งอยากจะ แ ช ร์ แต่อาจฟังดู โ ง่ ๆ คือว่า”
เหตุผล: การพูดออกตัวเช่นนี้ ถือเป็นการ บั่ น ท อ น ความน่าเชื่อถือในสิ่งที่กำลังจะพูด
สิ่งที่ควรพูดที่สุด: ตัดคำพูดออกตัวที่อาจฟังดูติดลบออกไป แล้วให้ลุยในเรื่องที่อยากจะพูดอย่างมั่นใจที่สุด
4. “ฉันไม่มีเวลาพูดกับเธอหรอกนะ”
เหตุผล: เป็นประโยคที่ฟังหยาบคาย (ไม่) ได้ใจมากๆ ไม่เหมาะทั้งพูดต่อหน้าและทางโทรศัพท์
สิ่งที่ควรพูดที่สุด: เดี๋ยวนะเธอ ฉันใกล้จะเสร็จงานนี้แล้ว อีกสัก 10 นาที (หรือเท่าไรก็ว่าไป) เราค่อยคุยกันไหม
5. “ทำงานมาตั้งหลายปี ไม่เห็นขึ้นเงินเดือนให้เสียที”
เหตุผล: การพิจารณา ขึ้นเงินเดือน เจ้านายไม่ได้เอาอายุงานมาเป็นเครื่องวัด หากประเมินกันที่ผลงานมากกว่า
สิ่งที่ควรพูดที่สุด: หากได้โอกาสเหมาะและอยากจะพูดเรื่องนี้จริงๆ ควรนำผลงาน
ชิ้นโบแดงมาสนับสนุนด้วย จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น
6. “ไล่ดิฉัน / ผมออกสิ แล้วคุณจะเสียใจ”
เหตุผล: เป็นประโยคที่บ่งชี้ว่าคุณใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล เพราะมีเจ้านายจำนวนหยิบมือ (หนึ่งเปอร์เซ็นต์หรือน้อยกว่า)
ที่จะเสียใจจริงดังว่า ฉะนั้นการพูดออกไปจะมีโอกาส เ สี่ ย ง ถูกเจ้านายอัปเปหิตามคำขอสูงทีเดียว
สิ่งที่ควรพูดที่สุด: ควรคิดก่อนพูด อย่าทะนงตน ว่าคุณทำงานเก่งเพราะการอยู่ร่วมกันในที่ทำงาน
นั้นมีเส้นบางๆ ที่แบ่งบทบาทและความรับผิดชอบชัดเจน ถ้าคุณล้ำเส้น อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้
ขอบคุณที่มา : p r o s o f t h c m