ตอนที่ยังเป็นเด็กนักเรียน หลายคนต่างเชื่อเสมอว่าถ้าได้ตั้งใจเรียน สอบติดคณะที่ใช่ ยิ่งมีโอกาสได้งานที่ดี เงินเดือนที่ดี และยิ่งเป็นอาชีพที่ใครก็รู้จัก เช่น
ข้าราชการ,วิศวกร, นักธุรกิจ ยิ่งน่าภูมิใจไปใหญ่ เพราะนอกจากเงินเดือนที่ได้สมน้ำสมเนื้อ มีจำนวนมากพอที่จะจุนเจือครอบครัวได้ มีสวัสดิการรองรับให้สุขสบาย
ยังเป็นอาชีพที่ถือว่า “มีหน้ามีตา” ใครก็ต้อนรับกันหมด แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้ว อาชีพที่ “มีหน้ามีตา” ในสังคม ไม่ได้เหมาะกับทุกคนเสมอไป และใน
แต่ละอาชีพ เขาก็มีการกำหนดอัตรารับสมัครแต่ละปีที่ค่อนข้างจำกัดน่ะสิ ! “แล้วจะเรียนไปทำไม ถ้าสุดท้ายก็ได้งานที่ไม่ตรงสาย/ งานที่น้อยคนจะรู้จัก/ เงินเดือน
ที่ไม่ได้มากมายอะไร ?” คำถามนี้จะได้คำตอบที่เ ค รี ย ดมากเลย เพราะมันเต็มไปด้วยความคาดหวังที่คิดว่า “เรามีทางเลือกอยู่ไม่กี่อย่างในชีวิต” แต่ถ้าลองเปลี่ยน
เป็นความคิด “ฉันทำงานอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะตรงสายหรือไม่ก็ตาม” มันอาจดูประโยคขี้แพ้ในสายตาบางคน แต่ถ้าคิด ๆ ดูแล้ว มันได้ความสบายใจเยอะกว่าการ
ตั้งคำถามแบบแรก เพราะความเป็นจริงของชีวิตคือ
1. มนุษย์ทุกคนมีความสามารถในตัวเอง “แตกต่าง” กันไป เราไม่จำเป็นต้องเก่งเหมือนกันหมด
2. แม้แต่ในคนเดียวกัน ยังมีความสามารถที่หลากหลาย เช่น เป็นห ม อแต่ก็เล่นดนตรีเก่ง ทำอ าห า รเก่ง เป็นศิลปินแต่ก็คำนวณเก่ง ขับรถเก่ง
3. สิ่งที่เรา “เก่ง” ไม่จำเป็นต้องออกมาในรูปแบบวิชาชีพ เช่น ห ม อ, วิศวกร, พย าบาล มันอาจเป็นพรสวรรค์ก็ได้ เป็นความรู้อะไรก็ได้ที่เราเอาจริงกับมัน เช่น
การทำอ าห า ร, การจัดสวน, การออกแบบ (ไม่อย่างงั้น เราคงไม่เห็นนักธุรกิจหน้าใหม่หลายคนผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดหรอก)
4. สิ่งที่เราเรียนมาเป็นสิบเป็นร้อยกว่าวิชา มันคือ “การหล่อหลอม” หลายวิชาไม่ได้สอนเราทางตรง แต่ให้เราค่อย ๆ ซึมซับข้อดีแต่อย่างไปเอง เช่น ฝึกความ
อ ดท น, ฝึกความประณีต, ฝึกทักษะการเข้าสังคม ในครั้งหนึ่งที่เราไม่เห็นประโยชน์ว่าจะใช้อะไรได้จริง พอโตขึ้นอีกหน่อย มันก็ต้องมีบ้ างแหละที่เรานึกอะไร
ขึ้นมาจนต้องไปหาอ่ า น ปัดฝุ่นตำราอีกครั้ง … ทุกความรู้ที่เราได้รับ ไม่เคยสูญเปล่า แค่เรามองไม่เห็นค่ามันเอง ลองนึกดูให้ดีสิ !
5. ในรั้วโรงเรียน-มหาวิทย าลัย ต่อให้เราได้เรียนกับอาจารย์ที่เก่งแค่ไหน ขอบเขตความรู้มันก็เป็นเพียงความรู้ในรั้วเท่านั้น โลกของวัยผู้ใหญ่ที่โตขึ้น เรายังต้องรู้เห็น
อีกมาก เรียนรู้กันอีกย าว ลองผิดลองถูกกันอีกเยอะดังนั้น จะมาฟั น ธงว่าเรียนมาสายวิทย์ต้องทำงานสายวิทย์ เรียนสายภาษาต้องทำงานสายภาษา มันก็ไม่ถูกเสมอไป
6. มันเป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์เราจะต้องวิ่งตามหาสิ่งที่ “ใช่”ค่อย ๆ เรียนรู้ ค่อย ๆ ปรับตัวไป สิ่งที่เรากำลังสนุกในตอนนี้ บางทีอาจจะยังไม่ใช่ที่สุด สิ่งที่เราเก่ง
ในตอนนี้ ในวันข้างหน้ามันอาจเป็นเพียงแค่ความทรงจำ เพราะอาจมีหลายปัจจัยให้คิดมากขึ้น เช่น จำเป็นต้องพับโครงการเรียนต่อเอาไว้ เพราะเงินไม่พอ, จำเป็น
ต้องทำงานหาเงินก่อน แล้วค่อยไปเรียนศิลปะที่เราชอบ …เราต้องดูจังหวะของชีวิตด้วย (ความจำเป็นของชีวิตแต่ละช่วง)
7. มนุษย์เราควรมีทางเลือกให้กับชีวิตไว้หลายด้าน หรือ “มีแผนสำรอง” เพื่อไม่เป็นการปิดกั้นตัวเองจนเกินไป เช่น ถ้าวุฒิที่เราเรียนมามันหางานย าก จะยอมรึเปล่า
ที่เอาวุฒิต่ำกว่านี้หางานไปก่อน? ถ้าเราไม่ได้อาชีพนี้ เรายอมได้รึเปล่าที่จะทำอาชีพอื่นไปพลางๆ ก่อน? .ความฝัน สิ่งที่ใช่ มันไม่ควรเป็นสิ่งที่ได้ดั่งใจในทันที
มันเป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ ที่ต้องแลกกับความเหนื่อย ความพย าย ามหลายเท่าตัว (จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด หากจะพบว่าทำไม ห ม อบางคนถึงแต่งเพลงได้?
ทำไมบางคนเรียนวิชาชีพแต่มาเป็นศิลปิน? ทำไมบางคนเรียนไม่จบแต่ประสบความสำเร็จ? ถ้ายังไม่เข้าในในข้อนี้ ลองย้อนกลับไปอ่ า นข้อ 6 อีกรอบ) ขึ้นชื่อว่า
“ความรู้” เราได้รับมา ถึงจะไม่ใช้ในทันทีก็ไม่ควรเสียดาย ขึ้นชื่อว่า “ความฝัน” ถึงจะยังไม่ใช่ในวันนี้ ใช่ว่าวันหน้าจะเป็นไปไม่ได้ มันอยู่ที่ตัวเราล้วน ๆ ว่า“รู้ตัวดี
หรือไม่ว่าทำอะไรอยู่?” และ “พร้อมจะยืดหยุ่นกับทุกสถานการณ์ชีวิตรึเปล่า?” อย่าลืมว่าโลกเรากลม และมีหลายมิติ
ใช่ว่าจะต้องมองเพียงด้านเดียว
ขอบคุณที่มา : j e e b . m e